วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556


VERB
Verb (กริยา) คือ คำที่ใช้แสดงอาการหรือการกระทำหรือถูกกระทำของประธาน
ของประโยค รวมถึงการบอกถึงอาการมีอยู่ (Have) หรือเป็นอยู่ (Be) ก็จะใช้กริยา เป็นตัวบอกเช่นกัน

คำกริยาถือว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งในประโยคเพราะถ้าไม่มีกริยา
แล้วย่อมสร้าง เป็นประโยคไม่ได้ เช่น

Revadee runs very fast.
เรวดีวิ่งเร็วมาก (กริยา s บอกการกระทำของ Revadee ซึ่งเป็นประธาน)

Supot will come to visit me next week.
สุพจน์จะมาเยี่ยมผมในสัปดาห์หน้า (บอกการกระทำของสุพจน์)

The plane rose to a new height.
เครื่องบินได้บินสูงมาก (บอกอาการของเครื่องบิน)

Somchai climbed a mountain.
สมชายได้ปีนเขาลูกหนึ่ง (บอกการกระทำของสมชาย)

จากตัวอย่างข้างบนนั้นจะเห็นได้ว่าคำกริยานั้นได้บอกอาการต่าง ๆ ของประธาน
ของ ประโยค ดังนั้นคำกริยาจึงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของประโยค เพราะถ้าขาดคำกริยาแล้วความ หมายของประโยคย่อมไม่สมบูรณ์แน่นอน คำกริยาในภาษาอังกฤษนั้นสามารถบอกเราได้หลายอย่าง ดังนี้

คำกริยาบางกลุ่มจะบอกการกระทำ (Action) ว่า คน สัตว์ หรือสิ่งของนั้นทำอะไร
หรือ บอกว่า คน สัตว์ หรือสิ่งของนั้นๆ ถูกกระทำ (is done) เช่น

My wife laughs.
ภรรยาของผมหัวเราะ

The clock strikes.
นาฬิกาตีบอกเวลา

Samran runs very fast.
สำราญวิ่งเร็วมาก

Tom was punished.
ทอมถูกทำโทษ
  
 
 
กริยาบางกลุ่มจะบอกอาการเป็นอยู่ หรือคงอยู่ (ได้แก่กริยา verb to be) เช่น
He is a student.
เขาเป็นนักเรียน

Those dogs are dead.
สุนัขเหล่านั้นตายแล้ว

There are twenty students in my class.
มีนักเรียนในห้องเรียนของผม 20 คน

กริยาบางกลุ่มจะแสดงถึงความเป็นเจ้าของ (possession) ได้แก่กริยา verb to have เช่น

My father has a car.
คุณพ่อของผมมีรถยนต์คันหนึ่ง

I have ten books on my desk.
ผมมีหนังสือ 10 เล่มบนโต๊ะทำงาน

She has many houses in Bangkok.
หล่อนมีบ้านหลายหลังที่กรุงเทพฯ

ชนิดของกริยา
กริยาในภาษาอังกฤษสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่ม ๆ ได้ดังนี้

Transitive verb กิริยาที่ต้องการกรรม
Intransitive verb กิริยาไม่ต้องการกรรม
Finite verb กริยาสำคัญของประโยค (กริยาหลัก)
Non-Finite verb กิริยาไม่แท้
Auxillary verb กริยาช่วย
กริยาตามที่กล่าว แล้วข้างต้นนั้นเป็นการแบ่งแบบกว้าง ๆ แต่ถ้าจะแบ่งให้เห็นรูปชัดเจน และเข้าใจง่าย กริยาสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

Principal verb หรือ Main verb (กริยาแท้)
Auxiliary verb (กริยาช่วย)
การแบ่งกริยาออก เป็น 2 กลุ่มคือเป็นกริยาแท้ และ กริยาช่วย จะทำให้สามารถอธิบาย และทำความเข้าใจรูปของกริยา (Forms) และ หน้าที่ของกริยา (Functions) ได้ง่ายขึ้นรวมถึงการ นำไปใช้ก็สามารถนำไปใช้ได้ง่ายขึ้นด้วย ดังจะอธิบายต่อไปนี้PRINCIPAL VERBS (กริยาแท้)

Principal Verbs (กริยาแท้ คือ กริยาที่สามารถผันได้เป็น 3 ช่อง และสามารถ
ทำหน้าที่ เป็นกริยาหลักและมาได้ตามลำพังตัวเดียวในประโยคหรือมาคู่กับกริยา
ช่วยก็ได้ โดยกริยาแท้ของ ประโยคสามารถเป็นได้ทั้ง Action verb (กริยาที่
แสดงการกระทำ) state of being or existence (กริยาที่แสดงความเป็นอยู่
หรือคงอยู่) หรือ possession (กริยาที่แสดงความเป็นเจ้าของ) กริยาแท้
จะมีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง และจะมีรูปร่างเปลี่ยนไปตามกาล (Tenses)
เช่น

Sona is an English woman.
โซน่าเป็นผู้หญิงชาวอังกฤษ

She has a Thai husband.
หลอนมีสามีเป็นคนไทย

Sona writes a letter to her husband.
โซน่าเขียนจดหมายไปถึงสามีของหล่อน (present tense)

Sona is writing a letter to her husband.
โซน่ากำลังเขียนจดหมายไปถึงสามีของหล่อน
(ใช้คู่กับกริยาช่วยคือ is เป็น present con.)

Sona has written a letter since 9 o’clock.
โซน่าได้เขียนจดหมายตั้งแต่ 9 โมงเช้าแล้ว
(ใช้คู่กับกริยาช่วย has เป็น present perfect)

Sona wrote a letter to her husband yesterday.
โซน่าได้เขียนจดหมายถึงสามี เมื่อวานนี้
(wrote อยู่รูปอดีต ช่องที่ 2)

Sona will write a letter to her husband tomorrow.
โซน่าจะเขียนจดหมายถึงสามีในวันพรุ่งนี้
(ใช้ write ร่วมกับกริยาช่วย will เป็น future simple)
น้ำกำลังเดือด (ใช้กริยาเป็น intransitive)

You must always speak the truth.
คุณต้องพูดความจริงเสมอนะ
(ใช้กริยาเป็น transitive)

You spoke for more than an hour.
คุณได้พูดมากกว่า 1 ชั่วโมง
(ใช้กริยาเป็น  intransitive)                                                                                          กริยา LINKING VERBS

Linking verb คือ กริยาที่ใช้เชื่อมส่วนที่เป็นประธานกับส่วนขยายหรือส่วน เติมเต็มของ ประโยคเข้าด้วยกัน และส่วนเติมเต็มจะวางไว้หลังกริยา Linking verb เสมอ ที่ต้องใช้ Linking verb เชื่อมเพราะว่า Linking verb จะไม่ทำให้เนื้อความ ของประโยคนั้น ๆ เปลี่ยนแปลง หรือเสีย หายไป เพราะ Linking verb ทำหน้าที่เป็นเพียงตัวเชื่อมระหว่างประธานและส่วนขยายเข้าด้วยกัน เท่านั้น และคำที่อยู่ด้านหลังของ Linking verb ก็ไม่ถือว่าเป็นกรรมของกริยาเพราะกริยา Linking verb ไม่ต้องการกรรมมารองรับนั่นเอง ส่วนคำที่ตามมาด้านหลังของกริยา Linking verb นั้นมี หลายชนิด เช่น NOUNS (คำนาม), ADJECTIVES (คำคุณศัพท์), ADVERBS (คำกริยาวิเศษณ์), PRONOUNS (คำสรรพนาม) เป็นต้น